วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กลุ่มที่ 5 Virtual Private Network วันที่ 9-2-51

Virtual Private Network (VPN) เครือข่ายเสมือนส่วนตัวที่ทำงาน โดยใช้โครงสร้างของเครือข่ายสาธารณะหรืออาจจะวิ่งบนเครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถคงความเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์กรได้ด้วยการเข้ารหัสแพ็กแก็ตก่อนการส่ง เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น VPN เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคารที่กำลังเป็นที่สนใจและเริมนำไปใช้ในหน่วยงานที่มีหลายสาขาหรือมีสำนักงานกระจัดกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค ในระบบ VPN การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแทนการต่อเชื่อม Leased line หรือ FrameRelay

VPN จะครอบคลุม
1.อุปกรณ์ฮาร์แวร์
2.ซอฟต์แวร์
3.ส่วนที่เป็นไฟร์วอลล์
4.การเข้ารหัสแพ็กเก็ต เพื่อทำให้ข้อมูล มีความปลอดภัย

Type of VPN
1.Remote-access
2. Site-to-Site
2.1 Intranet-based
2.2 Extranet-based
1.Remote-access VPNDN เป็นการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายเดียวกัน สามารถทำการเชื่อมต่อระหว่าง Users ที่ไม่ได้อยู่ที่องค์กรหรือบริษัท เข้ากับ Server โดยผ่านทาง ISP อนุญาตให้ Users สามารถทำการเชื่อมต่อกับองค์กรหรือบริษัท เมื่อไรก็ได้ตามต้องการ
2. Site-to-Site เป็นการติดต่อระหว่างเครือข่ายหลายเครือข่าย เช่น บริษัทสำนักงานใหญ่ที่ กรุงเทพฯ ต้องการตดต่อกับบริษัทสาขาที่เชียงใหม่ โดยจะเชื่อมต่อผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ

กลุ่มที่ 4 Lan View

โปรแกรม LabVIEW
เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการวัดและเครื่องมือวัดสำหรับงานทางวิศวกรรม LabVIEW ย่อมาจาก Laboratory Virtual Instrument Engineering Workbench ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรแกรมที่สร้างเครื่องมือวัดเสมือนจริงในห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม ดังนั้นจุดประสงค์หลักของการทำงานของโปรแกรมนี้คือการจัดการในด้านการวัด และเครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ และในตัวของโปแกรมจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ใช้ช่วยในการวัดมากมาย และแน่นอนที่สุดโปรแกรมนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือวัดทางวิศวกรรมต่าง ๆLabVIEWเป็นโปรแกรมที่ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนการเขียนด้วยตัวอักษรเหมือนโปรแกรมปกติทั่วไป ซึ่งข้อดีข้อแรกก็คือการลดความผิดพลาดด้านการสะกดผิดหรือพิมพ์ผิดออกไป ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งที่สำคัญของการเขียนโปรแกรมแบบ G กับการเขียนด้วยตัวหนังสือก็คือ การเขียนด้วยภาษา G นี้เป็นการเขียนโดยใช้หลักการของ Data Flow ซึ่งเมื่อเร่มส่งข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม เราจะต้องกำหนดทิศทางไหลของข้อมูลว่าจะไปที่ส่วนใด ผ่านการประเมินผลและคำนวณในส่วนใดบ้าง และจะให้แสดงผลอย่างไร ซึ่งลักษณะการเขียนภาษา G หรือ Data Flow นี้จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียน Block Diagram ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถให้ความสนใจกับการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องจดจำรูปแบบคำสั่งที่ยุ่งยากเนื่องจาก LabVIEW ใช้ลักษณะการเขียนแบบ Block Diagram ซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาใช้ต่อไปได้ และถ้าหากเราจำได้ถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมว่าก่อนที่จะเขียนโปรแกรม เราควรจะต้องเขียน Flow Chart ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน หลักจากตรวจสอบ Flow Chart เรียบร้อยแล้วเราจึงนำไปเขียนโปรแกรม ดังนั้นเราจะมีความสะดวกมากขึ้นถ้าหากการเขียน Flow Chart ของ LabVIEW ก็คือการเขียนโปรแกรมนั่นเอง ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้เป็นจำนวนมากแม้ว่าการเขียนโปรแกรมใน LabVIEW ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมใด ๆ มาก่อนเลย แต่การมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต กลุ่มที่ 3 วันที่ 26 มกราคม 2551

ประโยชน์ของ Internet มีดังนี้
1. ด้านการติดต่อสื่อสารเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2. เป็นระบบสื่อสารพื้นที่จำลอง ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา เชื้อชาติ
3. มีระบบการเรียนการสอน
4. สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้
5. บริการทางธุรกิจ เช่น สั่งซื้อสินค้าหรือการโฆษณาต่างๆ
6. การบริการด้านบันเทิงต่างๆ การดูภาพยนตร์
โทษของ Internet
มีหลากหลายลักษณะทั้งเป็นแหล่งที่ข้อมูลเสียหาย ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง แหล่งซื้อขายประกาศผิดกฎหมาย ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายไวรัสต่างๆ
1. Internet เป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
2. ข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่มาก
3. ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี
4. เสี่ยงต่อการโดนโจรกรรมข้อมูล
5.ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริงต้องดูเสียก่อน
โทษเฉพาะที่เป็นภัยต่อเด็กมีอยู่ 7 ประการ
1. การแพร่สื่อลามก
2. การล่อลวง
3. การค้าประเวณี
4. การขายสินค้าอันตราย
5. การเผยแพร่การทำระเบิด
6. การพนัน
7. การเล่นเกม
โลกอนาคต
Unified Communication
Surface
Home Server
E-Money
ความเสียหาย
ทางเศรษฐกิจ
ระดับครอบครัว
ระดับงบประมาณ รัฐบาล ประเทศชาติ
ธุรกิจ ห้างร้าน บริษัท
ประชากร
คุณภาพ และจริยธรรม
สังคม
ลักษณะพฤติกรรมสังคม เปลี่ยนแปลง
การเลี้ยงดูบุตรหลาน
อาชญากรรม

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปสัมมนากลุ่ม 2 เรื่องการเขียนโปรแกรม GUI

โปรแกรมLab View (Laboratory Virtual Instrument Engineering Workbench) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในด้านการวัดและเครื่องมือวัดสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม Lab View ย่อมาจาก Laboratory Virtual Instrument Engineering Workbench หมายความว่า เป็นโปรแกรมที่สร้างเครื่องมือวัดเสมือนจริงในห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม

จุดประสงค์ของการทำงานของโปรแกรมคือการจัดการในด้านการวัดและเครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ และในตัวของโปรแกรมจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ใช้ช่วยในการวัดมากมายและแน่นอนที่สุด

สิ่งที่ Lab View แตกต่างจากโปรแกรมอื่นคือ เป็นโปรแกรมประเภท GUI นั่นคือเราไม่จำเป็นต้องเขียน Code หรือคำสั่งใด ๆ ทั้งสิ้น และที่สำคัญภาษาที่ใช้ในโปรแกรมนี้เรียกว่า เป็นภาษารูปภาพ Lab View มีความสะดวกและสามารลดเวลาในการเขียนโปรแกรมลงไปได้มาก โดยเฉพาะในงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ในการวัดและการควบคุม

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

Network security for SMEs โดยกลุ่มที่ 1

ระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ Lan
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะกล่าง Man
ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล Wan
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเตอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งกเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อยๆ หลายๆ เครือข่ายรวมตันกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
เทคโนโลยีเตอร์เน็ต
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ความหมาย คือการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ อันทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายและผู้กระทำจะได้รับผลประโยชน์ตอนแทนหรือไม่ก็ตาม
กลุ่มบุคคลที่กระทำผิด
1.พวกเด็กหัดใหม่
2.พวกวิกลจริต
3.อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด
4.อาชญากรอาชีพ
5.พวกหัวพัฒนา
6.พวกคลั่งลัทธิ
7.ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
Hacker คือบุคคลที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จะเจาะระบบผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
Cracker คือผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีจนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายรวมทั้งทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
รูปแบบของอาชญากรรม
1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
2.การเล่นการพนัน
3.การละเมิดลิขสิทธิ
4.การเผยแพร่ภาพ เสีย ภาพลามกอนาจาร
5.การฟอกเงิน
6.การก่อกวน
7.การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย
8.การลักลอบเข้าใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
9.การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเป็นของตนเอง
อุปกรณ์ในการกระทำผิด
1.เครื่องคอมพิวเตอร์
2.เครือข่าย
3.อุปกรณ์ต่อเชื่อมเครือข่าย
ปัญหาการรบกวนระบบการทำงานเบื้องต้น
1.Virus
2.Worm
3.Trojan
4.Spyware
โรพำไฟสส เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันระบบเครือข่ายได้ (ป้องกันการบุกรุก)
ชนิดของFirewall
Packet filtering
Proxy Service
Stateful Inspection

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สัมมนาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

องค์ประกอบของการจัดสัมมนา
1. บุคคลและกลุ่มบุคคล
2. โครงการ
3. วิธีการจัดหรือรูปแบบการจัด
4. เนื้อหาและเรื่องราว

บุคคลและกลุ่มบุคคล
ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ผู้จัดสัมมนา ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่ง
ทำหน้าที่จัดการสัมมนา ครั้งนั้นๆ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้ง
2. ผู้สัมมนา ได้แก่ บุคคลที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน ประสบปัญหาร่วมกันหรือต้องการแสวงหาความคิดใหม่ร่วมกัน และประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้และหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน
3. วิทยากร ได้แก่ บุคคลซึ่งมีบทบาทในการสัมมนาช่วยสร้างเสริมให้การสัมมนาบรรลุเป้าประสงค์
วิทยากรที่ดีจะต้องมีลักษณะดังนี้
3.1 เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในหัวข้อในการสัมมนานั้นเป็นอย่างดี
3.2 เป็นผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดการจัดกิจกรรมและใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ประกอบ
3.3 เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคม
3.4 เป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้าทันสมัย ใจกว้าง มีเหตุผล ควบคุมอารมณ์ได้ดี ยอมรับความคิดเห็น และวิธีการการใหม่ๆ
3.5 เป็นผู้ที่รอบคอบไม่ประมาท มีการเตรียมการ และค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อที่จะให้การสัมมนาล่วงหน้า

หน้าที่ของบุคคลและกลุ่มบุคคลในการจัดสัมมนา
ผู้จัดสัมมนา มีหน้าที่

1.1 ส่งหนังสือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนาพร้อมกำหนดการต่างๆ ควรเชิญล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน
1.2 ติดต่อเชิญวิทยากร การเชิญควรมีการติดต่อล่วงหน้าเป็นการส่วนตัวก่อน จึงทำหนังสือเชิญเป็นทางการ
1.3 จัดกำหนดการสัมมนา ได้แก่ การจัดหัวข้อในการสัมมนา ซึ่งควรจัดให้เหมาะสมกับเวลาและหัวเรื่อง ตลอดจนเวลาพักระหว่างสัมมนา
1.4 จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการสัมมนา รวมทั้งจัดพิมพ์คำบรรยาย หรือเอกสารที่วิทยากรนำมาเสนอทั้งก่อนและหลังการสัมมนา
1.5 จัดเตรียมสถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวกในการสัมมนา รวมทั้งบริการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม
1.6 จัดรวบรวมภูมิหลังของผู้ร่วมสัมมนา เพื่อให้วิทยากรได้รู้จักและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการสัมมนาได้ดียิ่งขึ้น

ผู้สัมมนามีหน้าที่
2.1 แสดงความคิดเห็นหรือซักถามวิทยากรในโอกาสที่เหมาะสม และควรยกมือก่อนจะพูดหรือถามทุกครั้ง
2.2 ก่อนพูดทุกครั้งควรบอกชื่อและนามสกุล พร้อมทั้งสถานที่
ทำงานเพื่อสะดวกในการประสานงานของผู้จัดและสร้างความคุ้นเคยของผู้เข้าร่วมสัมมนา
2.3 ควรให้ความร่วมมือกับผู้นำอภิปรายในโอกาสที่มีการแบ่งกลุ่มย่อยในการสัมมนา และควรแสดงข้อคิดเห็นต่างๆ ไม่ควรนั่งเฉยๆ แต่ไม่ควรผูกขาดการพูดเพียงคนเดียว
วิทยากร มีหน้าที่
3.1 เตรียมเอกสารเพื่อประกอบการบรรยายหรือนำเสนอตาม หัวเรื่องที่ได้รับมอบหมาย และควรมอบเอกสารนั้นให้ฝ่ายจัดสัมมนาจัดพิมพ์แจกผู้เข้าร่วม
3.2 กล่าวบรรยายหรือนำเสนอหัวข้อตามที่ได้รับมอบหมายแต่ไม่ควรอ่านตามเอกสารที่ได้ ควรอธิบายเฉพาะหัวข้อที่สำคัญเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสาร ขมวดแนวคิดที่น่าสนใจเป็นแนวทางให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสานต่อความคิด
3.3 เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆหลังจากกล่าวบรรยายหรืออภิปรายไว้

โครงการสัมมนา
การจัดทำโครงการสัมมนานับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเพราะโครงการเป็นแนวทางและแผนงานที่ใช้ในการจัดสัมมนา
1. โครงการต้องได้จากการวางแผนร่วมกัน
2. โครงการต้องวางแผนไว้อย่างมีระบบ
3. โครงการต้องมีเป้าหมายชัดเจน
4. โครงการต้องชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้
5. โครงการต้องมีรายละเอียด
กระบวนการจัดสัมมนาและหน้าที่ของคณะกรรมการ
กระบวนการสัมมนา หมายถึง ขบวนการต่างๆ ตั้งแต่
เริ่มสัมมนาไปจนกระทั่งการสัมมนาได้สิ้นสุดลง ซึ่งมี

ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการดังนี้
ระยะที่ 1 ก่อนการสัมมนา
ระยะที่ 2 การดำเนินการสัมมนา
ระยะที่ 3 ภายหลังการจัดสัมมนา

ระยะที่ 1 ก่อนการสัมมนา
สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการสัมมนา คือ การหาความต้องการในการ
สัมมนา ซึ่งเป็นขั้นที่ 1 อาจจะได้มาหลายวิธีการ เช่น
การพิจารณาจากปัญหาที่เกิดขึ้นบางประการ ในหน่วยงานหรือองค์กร
nพิจารณาจากความต้องการของบุคลากร โดยการสำรวจความคิดเห็นหรือการสอบถาม การสัมภาษณ์หรือโดยการวิจัย
พิจารณาจากนโยบายหรือจุดมุ่งหมายของหน่วยงานหรือขององค์การนั้นๆ ว่าต้องการอย่างไร บุคคลในองค์การเข้าใจเป้าหมายชัดเจนหรือไม่ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจเป้าหมายได้ชัดเจน หรือ การจัดสัมมนา
การพิจารณาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงาน แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ก็โดยการจัดสัมมนา

ในระยะเตรียมก่อนการสัมมนาขั้นที่ 2
คือ ระยะเตรียมการจัดสัมมนาหลังจากที่ได้รู้ประเด็นปัญหาและตกลงใจที่จะให้มีการสัมมนาแล้ว ก็จะต้องมีลำดับขั้นปฏิบัติดังนี้
แต่งตั้งคณะดำเนินการและอนุกรรมการ
เลือกหรือแต่งตั้งผู้อำนวยการ/ ประธาน/ ที่ปรึกษา ที่กรรมการทั้งหมดทำหน้าที่ต่างๆ กัน
กำหนดวัตถุประสงค์
เลือกหรือกำหนดประเด็นปัญหาหรือหัวข้อการสัมมนา
จัดประเด็นปัญหา หรือหัวข้อย่อย
ตกลงวิธีการสัมมนา
กำหนดตัววิทยากร
กำหนดสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์
กำหนดวัน เวลา และตารางการสัมมนา
กำหนดงบประมาณ
กำหนดกิจกรรมที่ใช้ในการสัมมนา และกิจกรรมเสริม
ภายหลังจากที่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วก็เขียนเป็นโครงการสัมมนาขึ้น
ในระยะเตรียมการสัมมนาขั้นที่ 3
เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ของกรรมการหรืออนุกรรมการ เช่น
การประชาสัมพันธ์การสัมมนา

การเชิญวิทยากร การออกหนังสือเชิญแก่สมาชิกเพื่อเข้าร่วมสัมมนา
การเตรียมการด้านการลงทะเบียน
การเตรียมการด้านเอกสาร
การเตรียมการด้านอาหาร เครื่องดื่ม และที่พัก
การเตรียมการด้านยานพาหนะ ขนส่ง

ระยะที่ 2 การดำเนินการสัมมนา
ในการดำเนินการจัดสัมมนานั้น แต่ละวิธีการจัดก็แตกต่างกันออกไป แต่จะดำเนินการไปตามลำดับขั้นดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 พิธีเปิดสัมมนา อาจจะทำพิธีเปิดโดยผู้อำนวยการจัด ประธานการจัดสัมมนา หรือเปิดโดยแขกผู้มีเกียรติหรือบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นพิธีที่นิยมปฎิบัติกันโดยทั่วๆ ไป
ขั้นที่ 2 การประชุมใหญ่โดยสมาชิกทั้งหมดมาประชุมร่วมกัน ซึ่งอาจมีกิจกรรมในขั้นนี้ เช่น การบรรยายการอภิปราย หรือการถกประเด็นของปัญหา การสาธิต
ขั้นที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อย หลังจากขั้นที่ 2 แล้ว ก็จะแบ่งกลุ่มสมาชิกออกเป็นกลุ่มย่อย ตามลักษณะปัญหาและความสนใจ แล้วก็ดำเนินการสัมมนาในกลุ่มย่อย โดยมีการถกปัญหา การเสนอข้อคิดเห็นการอภิปราย โดยทำลำดับขั้นดังนี้ คือ
เสนอประเด็นปัญหา
หาสาเหตุของปัญหา
วิเคราะห์ปัญหา
หาวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นมาหลายๆ วิธี
เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เห็นว่าดีที่สุด
ประมวลข้อเสนอแนะของกลุ่มเพื่อรายงานต่อที่ประชุมใหญ่

ขั้นที่ 4 เป็นการทำกิจกรรมเสริมการสัมมนา เช่น การปฏิบัติการ การศึกษานอกสถานที่ การดูสไลด์ ภาพยนตร์ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ขั้นที่ 5 ขั้นรายงานผลต่อที่ประชุมใหญ่ พิจารณาข้อสรุปและข้อเสนอแนะของกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม
ขั้นที่ 6 เป็นขั้นสรุปผลและประเมินผลการสัมมนา
ขั้นที่ 7 พิธีปิดการสัมมนา

ระยะที่ 3 ภายหลังการจัดสัมมนา
หลังจากจัดสัมมนาเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องมีกิจกรรมที่ดำเนินการต่อไปนี้ คือ
การประมวลผลสรุปผลการสัมมนาทั้งหมด
การพิมพ์เอกสาร รายงานการสัมมนา
การแจกเอกสารรายงานการสัมมนา
การติดตามการประเมินผลการสัมมนา
การรายงานผลงานของคณะกรรมการดำเนินการแต่ละฝ่าย เช่น ปัญหาและอุปสรรคและวิธีการแก้ไข
สรุปข้อเสนอแนะทั้งหมดเพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดสัมมนาครั้งต่อไป

หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสัมมนาอาจประกอบด้วย คณะกรรมการเตรียมการและคณะกรรมการจัด
สัมมนา ซึ่งคณะกรรมการทั้งสองจะเป็นชุดเดียวกันก็ได้ โดยมีหน้าที่ดังนี้
1. คณะกรรมการเตรียมการสัมมนามีหน้าที่
1.1 รวบรวมปัญหาและข้อมูลต่างๆ เพื่อสรุปและตั้งหัวข้อการสัมมนา ตลอดจนจำแนกหัวข้อสัมมนาต่างๆซึ่งการสำรวจปัญหาอาจกระทำได้หลายวิธี เช่น สัมภาษณ์ การสังเกต รวบรวบข้อมูลและสรุป หรือทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม
1.2 พิจารณาจำนวนและประเภทของสมาชิกที่จะเข้าร่วมสัมมนาโดยคำนึงถึงความต้องการและการนำผล
ของการสัมมนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดทั้งจัดเตรียมรายละเอียดของโปรแกรมสัมมนา พร้อมทั้งจัดส่งไปกับจดหมายเชิญวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนาต่อไป
1.3 พิจารณาบุคคลที่เชิญให้เป็นวิทยากร ซึ่งต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ เพราะวิทยากรจะเป็นบุคคลที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสมัครเข้าร่วม
คณะกรรมการจัดสัมมนา
มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดสัมมนาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยคณะกรรมการควรจัดการประชุม เพื่อปรึกษาหารือเพื่อกำหนดและเตรียมการต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ระยะเวลาการประชุม ขึ้นอยู่กับขอบข่ายของปัญหา
ลักษณะการสัมมนา ตลอดจนความสะดวกและความ
สนใจของผู้เกี่ยวข้อง
2.2 จัดทำกำหนดการสัมมนาโดยละเอียด
2.3 วิธีและรูปแบบของการสัมมนาที่จะนำมาใช้จัด
2.4 เตรียมสถานที่
2.5 เตรียมการเรื่องงบประมาณ
2.6 เตรียมเอกสารที่เป็นประโยชน์ต่อการสัมมนา

คณะกรรมการจัดสัมมนาควรประกอบด้วยกรรมการฝ่ายต่างๆ ดังนี้
1. ประธาน ควรเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมด้วย
คุณวุฒิและวัยวุฒิที่เหมาะสมและประการสำคัญ
จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิก
2. รองประธาน ควรเป็นที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิ อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นบุคคลที่สมาชิกของกลุ่มผู้ร่วม
ดำเนินการยอมรับ สำหรับตำแหน่งรองประธานอาจตั้งเพียงคนเดียวหรือมากกว่าก็ได้
แต่มักไม่เกิน3 คน
3. เลขานุการ
ควรเป็นบุคคลที่มีความคล่องตัวสูง
มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
ยอมอุทิศกายและใจ ตลอดทั้งเวลาเพื่องานอย่างเต็มที่
เตรียมเอกสาร ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม
ประสานงานกับกรรมการฝ่ายต่างๆ เป็นระยะๆ ว่า ได้เตรียมการ และดำเนินการไปมากน้อยเพียงใด และรายงานให้ประธานทราบ
การเชิญวิทยากร การออกจดหมายเชิญหน่วยงานต่างๆ
รายงานปัญหา ให้รองประธาน และ ประธานทราบ

4. ผู้ช่วยเลขานุการ
5. เหรัญญิก ควรเป็นบุคคลที่มีความละเอียดถี่ถ้วนเป็นพิเศษ นอกจากนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ซื่อตรงหน้าที่ของเหรัญญิก คือ การให้การบริการทางการเงินและควบคุม
การเบิก-จ่ายเงิน ให้เป็นไปตามแผนการจ่าย เงินที่ได้รับอนุมัติในการจัดสัมมนา
6. กรรมการฝ่ายปฏิคม ควรเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความรู้ที่ดีในการต้อนรับ หรือติดต่อกับบุคคลอื่นๆ นอกจากนั้นกรรมการฝ่ายปฏิคมควรมีบุคลิกภาพที่ดี คณะกรรมการอาจประกอบด้วยอนุกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านปฏิคม โดยมีหน้าที่ต้อนรับบุคคลที่เข้าร่วมสัมมนาในฐานะสมาชิก วิทยากร หรือแขกเชิญพิเศษ เป็นต้น
7. กรรมการฝ่ายสถานที่ มีหน้าที่เตรียมการและจัดสถานที่ให้พร้อมสำหรับการจัดสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามกำหนดการ นอกจากนั้นกรรมการฝ่ายสถานที่จะต้องดูแลให้สถานที่กลับสู่สภาพเดิม ภายหลังเสร็จสิ้นการสัมมนา
8. กรรมการฝ่ายเอกสาร บุคคลที่รับผิดชอบงานเอกสารควรเป็นบุคคลที่มีความสนใจด้านวิชาการเป็นพิเศษและควรเป็นบุคคลทีมีความรับผิดชอบและมีความคล่องตัวสูง สำหรับกรรมการฝ่ายเอกสารนั้นอาจจะประกอบด้วย คณะอนุกรรการเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน โดยมีหน้าที่ผลิต รวบรวมและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา ตลอดทั้งการบันทึก การถอดข้อความรวบรวมเนื้อความและการจัดทำรูปเล่มผลของการจัดสัมมนาภายหลังการสัมมนาได้เสร็จสิ้นลง
9. กรรมการฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจในการติดตั้ง และใช้โสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ เช่น การติดตั้งคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน เครื่องฉายข้ามศีรษะเป็นต้น
10. กรรมการฝ่ายจัดเลี้ยง มีหน้าที่จัดและให้บริการด้าน เครื่องดื่ม อาหารและอื่นๆ กับผู้เข้าร่วมสัมมนาตลอดช่วงระยะเวลาของการจัดการสัมมนา
11. กรรมการฝ่ายทะเบียน มีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารเพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมสัมมนาลงทะเบียน
12. กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาให้มวลชน หรือผู้ที่สนใจได้รับทราบ โดยการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชน เป็นต้น
13. กรรมการฝ่ายประเมินผล ควรเป็นบุคคลที่เข้าใจและทราบหลักการวัดและประเมินผลในลักษณะต่างๆตลอดทั้งมีความเข้าใจหลักและวิธีการรวบรวมข้อมูล การตีความข้อมูลทางสถิติได้ดี มีหน้าที่ในการประเมินผลด้านต่างๆ เพื่อทราบผลการจัดสัมมนาว่าบรรลุเป้าประสงค์มากน้อยเพียงใด และมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง การ

รูปแบบและเทคนิคการจัดสัมมนา
ในการจัดสัมมนารูปแบบต่างๆ ที่นำมาใช้จัดควรมีความหลากหลาย
ลักษณะ เช่นการนำรูปแบบของการอภิปราย หรือการนำรูปแบบของการ
ประชุม ซึ่งการนำรูปแบบต่างๆ มาใช้ควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1. ขนาดของกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา อาจแบ่งเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ แล้วแต่ความเหมาะสม
2. หัวข้อและจุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบและวิธีการสัมมนาตลอดทั้งยังมีความสำคัญต่อการเลือกและการเชิญวิทยากร การจัดเตรียมกำหนดการก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
3. สื่อกลางและสถานที่สำหรับจัดสัมมนา
การเลือกรูปแบบและเทคนิคของการจัดสัมมนา
1. รูปแบบการจัดสัมมนาโดยใช้เทคนิคการอภิปราย
1.1 การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) จะต้องใช้กลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิตั้งแต่ 3 คนไปจนถึง 10 คน ซึ่งคณะของผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีความสนใจเกี่ยวกับหัวข้อหรือประเด็นในการประชุมเป็นพิเศษ โดยคณะผู้อภิปรายจะต้องมานั่งรวมกันอยู่ต่อหน้าผู้ฟัง โดยมีพิธีกรหรือผู้ดำเนินการประชุม (Moderator) เป็นผู้ดำเนินรายการคณะผู้อภิปรายจะอภิปรายไปตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายอย่างมีระเบียบ ใช้หลักและเหตุผล โดยทั่วไปแล้วเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ข้อเท็จจริง และได้แนวความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ยังจะได้เห็นการใช้เหตุผลโต้แย้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นระหว่างผู้อภิปรายร่วมกัน ช่วยให้ผู้ฟังมีความคิดอ่านกว้างขวางออกไปอีกมาก การอภิปรายเป็นคณะไม่ควรใช้เวลาเกิน 3 ชั่วโมง

การเลือกรูปแบบและเทคนิคของการจัดสัมมนา
1.2 การอภิปรายแบบซิมโพเซี่ยม (Symposium) การอภิปรายแบบนี้เหมาะที่นำมาใช้ในการประชุมทางวิชาการ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ หรือวิทยากร 2 - 6 คน มีลักษณะเป็นทางการมาก ผู้อภิปรายมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นอย่างดีโดยผู้อภิปรายแต่ละคนจะเตรียมความรู้เฉพาะตอนใดตอนหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย การบรรยายจะไม่ก้าวก่ายหรือไม่ซ้ำซ้อนกับหัวข้อวิทยากรท่านอื่น วิทยากรแต่ละท่านจะเสนอความคิดเห็นของตนให้ตรงจุดมุ่งหมายมากที่สุด โดยใช้เวลาประมาณคนละ 10 - 15 นาที

1.3 การอภิปรายแบบบุ๊ซเซสชั่น (Buzz Session) เป็นการประชุมที่เปิดโอกาสให้สมาชิก ซึ่งประกอบด้วยประธาน เลขานุการ และสมาชิก ที่เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นในระยะสั้นๆ โดยแบ่งสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณกลุ่มละ 2 - 6 คน เพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยใช้เวลาในการประชุมกลุ่มละประมาณ
6 -10 นาที สาเหตุที่กำหนดให้มีสมาชิกน้อย เพราะต้องการให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่กระดากอายและปราศจากการวิจารณ์หรือตัดสินว่าความคิดนั้นถูกหรือผิด

1.4 การอภิปรายแบบบทบาทสมมุติ (Role Playing) ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสแสดงบทบาทสมมุติ ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเหมือนในสภาพความเป็นจริง โดยเน้นลักษณะของปัญหาที่ต้องเผชิญและขบวนการแก้ปัญหาในลักษณะต่างๆ ผู้จัดประชุมเป็นผู้กำหนดโครงเรื่องให้คร่าวๆและให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความรู้สึกออกมาตามบทบาทสมมติที่ได้รับ เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ และได้มีโอกาสพัฒนาทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ของตนให้ดียิ่งขึ้น

1.5 การอภิปรายแบบตอบกลับ (Circular Response) ควรใช้กับกลุ่มสมาชิกประมาณ 8 - 15 คน โดยจัดที่นั่งเป็นรูปวงกลม การประชุมเริ่มโดยประธานกลุ่มเปิดการประชุม จากนั้นประธานจะเป็นผู้เสนอปัญหาเพื่อให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นจะเรียงลำดับทีละคน โดยเริ่มจากคนแรกที่อยู่ด้านขวามือของประธานและคนขวามือ ต่อๆ ไป ตามลำดับ กลุ่มสมาชิกของการอภิปรายแบบตอบกลับจะประกอบด้วยประธาน เลขานุการและสมาชิก

1.6 การอภิปรายโต๊ะกลม (Round Table) ควรจัดให้สมาชิกทุกคนเห็นหน้ากันได้ชัดเจนเป็นการประชุม ที่มีความเป็นกันเองมาก ประธานทำหน้าที่ดำเนินการประชุม สมาชิกท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นสามารถยกมือเพื่อขอพูด การประชุมแบบนี้ต่างกับแบบตอบกลับ คือสมาชิกไม่ต้องแสดงความคิดเห็นเรียงลำดับจากขวามือไปซ้ายมือ และการแสดงความคิดเห็นสามารถแสดงออกได้อย่างกว้างขวางและใช้เวลามากเท่าที่สมาชิกแต่ละคนต้องการ

1.7 การอภิปรายแบบถาม - ตอบ (Dialogue) หรืออาจเรียกว่าการอภิปรายแบบสนทนา เป็นการจัดรูปแบบการอภิปรายโดยบุคคล 2 คน ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเข้าใจในเรื่องที่จะอภิปราย การอภิปรายแบบนี้มีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ คล้ายคน 2 คนกำลังสนทนา
กัน คนหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ซักถามหรือพิธีกร อีกคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือ วิทยากรทำหน้าที่ตอบปัญหาการอภิปราย โดยมีกลุ่มผู้ฟังนั่ง ฟังอยู่ด้วย เทคนิคนี้จะใช้เมื่อต้องการเสนอข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นจากทรรศนะที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อตกลงหรือข้อยุติหรือแง่คิดที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงสุดท้ายของการอภิปรายดำเนินการอภิปรายอาจเปิดโอกาสให้สมาชิกที่เข้าฟังมีโอกาสซักถามข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ ได้หากประเด็นนั้นยังไม่กระจ่าง

1.8 การอภิปรายแบบฟอรัม (Forum) เป็นการอภิปรายโดยใช้วิธีการตั้งคำถามและตอบคำถามนั้นๆ การอภิปรายประกอบด้วยผู้ดำเนิน การอภิปรายและผู้อภิปราย โดยผู้อภิปรายจะประกอบด้วยผู้อภิปรายคนเดียวหรือหลายคนก็ไ็ด้ถ้ามีผู้อภิปรายคนเดียว เมื่อบรรยายจบก็จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามปัญหาได้ตามเวลาที่จัดไว้ การอภิปรายแบบนี้เหมาะที่ จะนำมาใช้ในการอภิปรายหรือเสนอแนะปัญหาต่างๆของบ้านเมือง เช่น การประชุมระดับหมู่บ้าน ระดับอำเภอ หรือระดับ จังหวัด หรือแม้แต่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทางการเมือง
1.9 การอภิปรายกึ่งสัมภาษณ์ (Colloquy Method) เป็นการปรับปรุงมาจากการอภิปรายเป็นคณะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ในการอภิปรายจะมีผู้อภิปราย 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มหนึ่งจะประกอบด้วยตัวแทนของผู้ฟังประมาณ 3 - 4 คนอีกกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยวิทยากรประมาณ 3 - 4 คน เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายนั่งอยู่บนเวที หันหน้าเข้าหาผู้ฟัง ผู้ร่วมอภิปรายที่ได้รับเลือกมาเป็นผู้แทนของผู้ฟังนั้นจะเป็นผู้เสนอปัญหาหรือถามคำถาม วิทยากรจะเป็นผู้ตอบปัญหา มีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นศูนย์กลาง ผู้ดำเนินการอภิปรายจะเป็นผู้กล่าวเปิดการอภิปราย และเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่าย
แสดงความคิดเห็น

1.10 การอภิปรายกลุ่มย่อย (Group Discussion) เป็นการอภิปรายกลุ่มย่อยตั้งแต่ 6 - 20 คน ในเรื่องใดๆ ที่กำหนดให้หรือในเรื่องที่สนใจร่วมกัน เพื่อสรุปผล แนวทางการแก้ปัญหาแสวงหาข้อยุติภายใต้การนำของประธานกลุ่ม โดยมีเลขาเป็นผู้บันทึก และสรุปข้อเสนอแนะเหมาะกับ
เรื่องใหญ่ๆ ที่มีหัวข้อย่อยที่ต้องการแก้ปัญหาหลายเรื่อง เช่น"ปัญหาการ ท่องเที่ยว" อาจแบ่งกลุ่มย่อยพิจารณาในเรื่อง ที่พักและโรงแรม, การบริการนักท่องเที่ยว, สถานที่เที่ยว, ความ
ปลอดภัย ฯลฯ
การจัดโครงการและคุณลักษณะต่างๆ ของการสัมมนา
ส่วนประกอบของโครงการสัมมนา
1. ชื่อโครงการ ตั้งชื่อได้หลายลักษณะคือ
1.1 ตั้งชื่อตามลักษณะของผู้เข้าสัมมนา เช่น โครงการสัมมนาศึกษานิเทศน์จังหวัด
ทั่วประเทศ โครงการสัมมนาผู้บริหารการศึกษาในเขตการศึกษา 3
1.2 ตั้งชื่อตามเนื้อหาที่จะสัมมนา เช่น โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ลักษณะของครูพลศึกษาที่ดี
1.3 ตั้งชื่อตามกิจกรรมที่สัมมนา เช่น โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง หลักการเป็นผู้ฝึกนักกีฬา
1.4 ตั้งชื่อตามปัญหาที่กำหนดจะสัมมนา เช่น ทิศทางของมหาวิทยาลัยราชภัฎ

2. หลักการและเหตุผล กล่าวถึง ข้อมูลของปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องสัมมนา โดยอ้างอิงถึงหลักฐานและข้อเท็จจริง
3. วัตถุประสงค์ กล่าวให้เห็นชัดว่าสัมมนาเพื่ออะไร มีเป้าหมายที่สำคัญอย่างไร โดยจะต้องสัมพันธ์กับข้อมูลในข้อที่ 2
4. กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ที่จะเข้าสัมมนาคือใคร มีจำนวนเท่าใด
การจัดโครงการและคุณลักษณะต่างๆ ของการสัมมนา
ส่วนประกอบของโครงการสัมมนา
4. กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ที่จะเข้าสัมมนาคือใคร มีจำนวนเท่าใด
5. วิทยากร คือใคร มาจากไหน
6. ระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการสัมมนานานเท่าใด เริ่มเมื่อใดและสิ้นสุดเท่าใด
7. สถานที่สัมมนา ณ สถานที่ใด ห้องใด ต้องระบุให้ชัดเจน
8. วิธีการสัมมนา ใช้วิธีการสัมมนาโดยวิธีใด เช่น การบรรยาย การอภิปราย การปฏิบัติการ ฯลฯ
9. กำหนดการการจัดสัมมนา การระบุกิจกรรมและเวลาว่าจะดำเนินการอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร ใช้สถานที่ ๆไหน
การจัดโครงการและคุณลักษณะต่างๆ ของการสัมมนา
ส่วนประกอบของโครงการสัมมนา
10. งบประมาณ เป็นกานเสนองบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการสัมมนา
ว่าใช้เท่าไร ได้มาโดยวิธีใด
11. การประเมินผล การประเมินผลการสัมมนาทั้งหมดว่าจะใช้วิธีใด
12. ผู้ดำเนินการจัดสัมมนา คณะกรรมการจัดสัมมนาทั้งหมดโดย
แบ่งย่อยๆ ออกเป็นคณะอนุกรรมการอีกก็ได้
13. ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจจะเป็นบุคคล หรือ หัวหน้าโครงการ
หรือเป็นองค์การหน่วยงาน
14. ผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยคาดว่าหลังการสัมมนาแล้วจะได้รับ ผลประโยชน์อะไรบ้างจากการสัมมนาครั้งนั้น ในการเขียนโครงการสัมมนานั้น บางโครงการผู้เขียนก็แยกหัวข้อแตกต่างหรือรวมเอาหัวข้อไปไว้ในข้อเดียวกัน แต่ก็ครอบคลุมทั้ง 14 หัวข้อดังกล่าวข้างต้น